เตียงพยาบาล

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ “ เตียงพยาบาล “ ที่ผู้ดูแลไม่ควรมองข้าม 

0 Comments

เมื่อจำเป็นต้องเลือกซื้อเตียงพยาบาลสำหรับผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุ ผู้ดูแลหรือสมาชิกในครอบครัวอาจมองข้ามจุดเล็ก ๆ น้อย ๆ ก่อนและหลังตัดสินใจเลือกซื้อไปอย่างน่าเสียดาย จนอาจทำให้เกิดปัญหาตามมาแบบไม่รู้จบ เช่น เตียงไม่ตอบโจทย์การใช้งาน ทำให้ต้องซื้อใหม่ เสียเงินเสียทองหลายรอบ เป็นต้น หากคุณไม่อยากพบเจอกับเรื่องราวน่าปวดหัวดังกล่าว เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจมาให้เรียบร้อยแล้ว ไปดูพร้อม ๆ กันได้เลย 

ข้อกำหนดด้านความปลอดภัยของเตียงพยาบาล 

ต้องบอกก่อนว่าเตียงพยาบาลมี “ข้อกำหนดด้านความปลอดภัย” ที่ควรทำความเข้าใจให้ดีก่อน ทั้งในเรื่องของขนาด ความสูง ตลอดจนวัสดุที่ใช้ในการผลิต ซึ่งถ้าหากยังไม่เข้าใจลองไปทำความเข้าใจเพิ่มเติมกันก่อนเลยดีกว่า 

  • เตียงผู้ป่วยต้องมีความสูงจากพื้นถึงเตียง 25-40 เซนติเมตร และควรมีช่องว่างใต้เตียงเพื่อป้องกันการเตะขอบเตียง 
  • วัสดุที่ใช้ในการผลิตต้องมีความแข็งแรง ทนทาน ไม่เป็นสนิม มีพื้นผิวเรียบ และง่ายต่อการทำความสะอาด 
  • เตียงผู้ป่วยต้องมีขนาดไม่ต่ำกว่า 90×200 เซนติเมตร 
  • ระบุน้ำหนักสูงสุดที่เตียงสามารถรองรับได้ 
  • ความสูงของราวกั้นเตียงผู้ป่วยเมื่อวัดจากฟูก จะต้องไม่น้อยกว่า 22 เซนติเมตร 

หลักการจัดวางเตียงพยาบาล 

อีกหนึ่งเรื่องที่หลายคนมักไม่ค่อยให้ความสำคัญ คือ หลักการจัดวางเตียงพยาบาล เพราะคิดว่าวางตรงที่สะดวก เคลื่อนย้ายง่าย และไม่ขวางทางเดินก็เพียงพอแล้ว แต่ในความเป็นจริงมีเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญพอสมควร โดยการจัดวางตำแหน่งเตียงผู้ป่วยที่เหมาะสมจะต้องเหลือพื้นที่รอบเตียงทั้ง 3 ด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านซ้าย ขวา และปลายเตียง ซึ่งจะต้องมีพื้นที่อย่างน้อย 90 เซนติเมตร เพื่อช่วยให้เข้าถึงผู้ป่วยได้ง่าย 

นอกจากนี้ยังสามารถใช้อุปกรณ์เสริมต่าง ๆ ที่จำเป็นได้อย่างสะดวกสบาย โดยไม่ต้องขยับหรือเคลื่อนย้ายเตียงผู้ป่วยไปมา ในส่วนของวัสดุปูพื้นห้องพักผู้ป่วยควรใช้สีโทนสว่าง พื้นผิวเรียบเสมอกัน ไม่ควรมีพื้นต่างระดับหรือปูพรม เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ (สะดุดล้ม) 

เห็นแล้วใช่มั้ยว่า? การเลือกซื้อและการจัดวางเตียงพยาบาล ที่หลายคนอาจมองข้าม จริง ๆ มีรายละเอียดที่ต้องทำความเข้าใจและให้ความใส่ใจเยอะเป็นพิเศษ เพราะไม่อย่างนั้นนอกจากจะต้องซื้อใหม่ เสียเงินเสียทองหลายครั้งแล้ว ยังอาจทำให้ผู้ป่วย/ผู้สูงอายุไม่สบายตัว แถมยังเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุต่าง ๆ ได้ง่าย ดังนั้นก่อนตัดสินใจซื้อหรือจัดวางเตียงสำหรับผู้ป่วยควรพิจารณาความเหมาะสมอย่างรอบด้าน หากไม่อยากพบเจอกับปัญหาต่าง ๆ ที่อาจตามมาไม่จบไม่สิ้น 

Related Posts

หุ่นยนต์ฝึกเดิน

หุ่นยนต์ฝึกเดิน ผู้ช่วยเพิ่มโอกาสความสำเร็จในการเดินของผู้ป่วย

0 Comments

                การเดินเป็นกิจกรรมที่สำคัญสำหรับชีวิตประจำวันของมนุษย์ แต่หลายคนอาจมีปัญหาในการเดินได้เนื่องจากโรคหรือบาดเจ็บทางระบบประสาท หรือการเสื่อมสภาพของกล้ามเนื้อและกระดูก การฝึกเดินเป็นวิธีหนึ่งที่สามารถช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นฟูสมรรถภาพในการเดินได้ แต่การฝึกเดินด้วยตนเองหรือด้วยผู้ช่วยแพทย์อาจมีข้อจำกัดหรือความเสี่ยงบางประการ ดังนั้นแล้ว เพื่อเป็นการเพิ่มโอกาสความสำเร็จในการเดินของผู้ป่วยหุ่นยนต์ฝึกเดินจึงถูกพัฒนาขึ้นเพื่อมาช่วยสนับสนุนกิจกรรมทางการแพทย์นี้โดยเฉพาะ หลักการและประโยชน์ของหุ่นยนต์ฝึกเดิน หุ่นยนต์ฝึกเดินคืออุปกรณ์ที่มีลักษณะเหมือนกางเกงหรือเข็มขัด…

รักษาสายตาสั้น

รักษาสายตาสั้นแบบไหนดี

0 Comments

สายตาสั้นจัดได้ว่าเป็นปัญหาสุขภาพที่รบกวนการมองเห็นและส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันเป็นอย่างยิ่ง เพราะทำให้มองเห็นวัตถุได้ไม่ชัดเจน ทำให้ปวดหัวและเมื่อยล้าดวงตา ซึ่งปัญหาสายตาสั้นเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มนักเรียนและกลุ่มผู้ที่อายุน้อยกว่า 18 ปี ซึ่งการเกิดภาวะสายตาสั้นไม่ได้เกิดขึ้นเองแต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่สามารถเกิดขึ้นจากพันธุกรรมได้อีกด้วย ใครที่มีปัญหาสายตาสั้น…

ศูนย์ดูแลผู้ป่วยติดเตียงราคาถูก

ศูนย์ดูแลผู้ป่วยติดเตียงราคาถูก ช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตให้ดียิ่งขึ้น

0 Comments

ในปัจจุบันมีผู้สูงอายุ หรือผู้ป่วยติดเตียงเพิ่มมากขึ้น และผู้ป่วยเหล่านี้จำเป็นต้องได้รับการดูแลตลอด 24 ชั่วโมง ดังนั้นศูนย์ดูแลผู้ป่วยติดเตียงราคาถูกจึงเป็นทางเลือกที่เหมาะสำหรับครอบครัว และผู้ป่วยเป็นอย่างมาก โดยที่เราสามารถเลือกได้ว่าต้องการให้ดูแลอยู่ที่ศูนย์ หรือมาดูแลที่บ้าน และยังเลือกได้อีกว่าต้องการดูแลแบบ…